ปรากฎการณ์ธรรมชาติ

วันจันทร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2554

e-Book

 หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ หรือ eBook เป็นคำภาษาต่างประเทศ ย่อมาจากคำว่า electronic book หมายถึง หนังสือที่สร้างขึ้นด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เป็นเอกสารในรูปแบบดิจิตัลที่นำเสนอข้อมูลในลักษณะข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงต่าง ๆ
ที่จัดเก็บในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลที่สัมพันธ์ของเนื้อหาถึงกันได้ผ่านจอคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าเนื้อหานั้นจะอยู่ในแฟ้มเดียวกันหรืออยู่คนละแฟ้ม หากเป็นการเชื่อมโยงข้อความที่เป็นตัวอักษรหรือตัวเลข เรียกว่าข้อความหลายมิติ (hypertext) และหากข้อมูลนั้นเป็นการเชื่อมโยงลักษณะภาพ เสียง และภาพเคลื่อนไหว เรียกว่าสื่อหลายมิติ (hypermedia)โดยปกติมักจะเป็นแฟ้มข้อมูลคอมพิวเตอร์ที่สามารถอ่านเอกสารผ่านทางหน้าจอคอมพิวเตอร์ ตลอดจนมีปฏิสัมพันธ์และโต้ตอบกับผู้อ่านได้ อีกประการหนึ่งที่สำคัญก็คือ หนังสืออิเล็กทรอนิกส์สามารถปรับปรุงข้อมูลให้ทันสมัยได้ตลอดเวลา ซึ่งคุณสมบัติเหล่านี้จะไม่มีในหนังสือธรรมดาทั่วไป


รูปแบบของ E-Book
E-Book เป็นไฟล์ที่สร้างจากคอมพิวเตอร์ แต่ ไม่ได้แสดงถึงคำจำกัดความที่ลงลึกไปถึงรายละเอียดว่าสร้างจากโปรแกรมอะไร ต้องมีรูปแบบไฟล์แบบไหน ทำให้ไม่มีมาตรฐานที่ชัดเจน   E-Book จะมีลักษณะเป็นไฟล์ที่เก็บในคอมพิวเตอร์จะมี format หรือไฟล์รูปแบบนามสกุลต่างๆ ที่เป็น e-book ได้แก่ ไฟล์นามสกุล pdf, rtf, xml,html ฯลฯ    แต่ที่นิยมใช้มากเป็นไฟล์ประเภทคือ  pdf  และ html เพราะนอกจากจะมีการใช้งานกันอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน ไฟล์ทั้งสองประเภทมีคุณสมบัติอื่น เช่น การสร้างสารบัญ การใส่ไฟล์รูปภาพ เสียง หรือวีดีโอ

eBook Software
eBook Software คือโปรแกรมที่ใช้ในการสร้าง และอ่าน eBook โดยปกตินิยมทำเป็นโปรแกรมชุดที่ประกอบด้วยโปรแกรมสร้าง (eBook Editor หรือ eBook Builder) และโปรแกรมอ่าน (eBook Reader) แยกจากกันเพื่อความสะดวกและเหมาะสมในการสร้าง และอ่าน eBook 


ความสำคัญของหนังสืออิเล็กทรอนิกส์
1. สามารถย้อนกลับเพื่อทบทวนหากไม่เข้าใจ และสามารถเลือกอ่านได้ตามเวลาและสถานที่ที่ตนเองสะดวก
2. การตอบสนองที่รวดเร็วของคอมพิวเตอร์ที่ให้ทั้งสีสัน ภาพ และเสียง ทำให้เกิดความตื่นเต้นและไม่เบื่อหน่าย
3. ช่วยลดค่าใช้จ่าย และลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ
4. สามารถทำสำเนาได้อย่างสะดวกทั้งสำเนาในรูปเอกสารและสำเนาลงในแผ่นซีดีรอม หรือสำเนาลงในฮาร์ดดิสก์
5. ผู้อ่านสามารถเลือกอ่านหัวข้อที่ตนสนใจข้อใดก่อนก็ได้ และสามารถย้อนกลับไปกลับมาในเอกสารหรือกลับมาเริ่มต้นที่จุดเริ่มต้นใหม่ได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว
6. สามารถแสดงทั้งข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว และเสียงได้พร้อมกันหรือจะเลือกให้แสดงเพียงอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้
7. สะดวกในการจัดเก็บข้อมูล สามารถเชื่อมโยง ข้อมูลจากสื่อต่าง ๆ ทั้งตัวอักษร ภาพนิ่ง ภาพ เคลื่อนไหว และเสียงที่อยู่คนละที่เข้าด้วยกัน นอกจากนั้น ยังสามารถปรับเปลี่ยน แก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว ทำให้สามารถปรับปรุงหนังสือให้ทันสมัยกับเหตุการณ์ ได้เป็นอย่างดี
8. ผู้อ่านสามารถค้นหาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกันกับเรื่องที่กำลังศึกษาจากแฟ้มเอกสาร อื่น ๆ ที่เชื่อมโยงอยู่ได้อย่างไม่จำกัดจากทั่วโลก

CAI (Computer Assisted Instruction)

CAI (Computer Assisted Instruction)
1. คอมพิวเตอร์ช่วยสอนคืออะไร
คอมพิวเตอร์ช่วยสอน มาจากคำว่า CAI (Computer Assisted Instruction) หมายถึงวิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการแสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วย บทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่างเหมาะสม คอมพิวเตอร์ช่วยสอนจึงเป็นเครื่องมือช่วยส่วนอย่างหนึ่งที่ผู้เรียนจะตอบคำถาม ทางแป้นพิมพ์แสดงออกมาทางจอภาพ มีทั้งรูปภาพและตัวหนังสือหรือบางทีอาจใช้ร่วมกันกับ อุปกรณ์อย่างอื่นด้วย เช่น สไลด์ เทปวิดีทัศน์ เป็นต้น
2. ลักษณะสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
คอมพิวเตอร์ช่วยสอนมีลักษณะการเรียนที่เป็นขั้นตอน ดังนี้
2.1 ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน จะเริ่มตั้งแต่การทักทายผู้เรียน บอกวิธีการเรียน และบอกจุดประสงค์ของการเรียน เพื่อที่จะให้ผู้เรียนได้ทราบว่า เมื่อเรียนจบบทเรียนนี้แล้วเขาจะสามารถทำอะไรได้บ้าง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอวิธีการในรูปแบบที่น่าสนใจได้ ไม่ว่าจะเป็นลักษณะภาพเคลื่อนไหว เสียงหรือผสมผสานหลาย ๆ อย่างเข้าด้วยกัน เพื่อเร้าความสนใจของผู้เรียน ให้มุ่งความสนใจเข้าสู่บทเรียนบางโปรแกรมอาจจะมีแบบทดสอบวัดความพร้อมของผู้เรียนก่อน หรือมีรายการ เพื่อให้ผู้เรียนเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และผู้เรียนสามารถจัดลำดับรายการเรียนก่อนหลังได้ด้วยตนเอง
2.2 ขั้นการเสนอเนื้อหา เมื่อผู้เรียนเลือกเรียนในเรื่องใดแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอเนื้อหาออกมาเป็นกรอบ ๆ ในรูปแบบที่เป็น ตัวอักษร ภาพ เสียง ภาพกราฟิก และภาพเคลื่อนไหว เพื่อเร้าความสนใจในการเรียน และสร้างความเข้าใจในความคิดรวบยอดต่าง ๆ แต่ละกรอบ หรือเสนอเนื้อหาเรียงลำดับไปทีละอย่างทีละประเด็น โดยเริ่มจากง่ายไปหายาก ผู้เรียนจะควบคุมความเร็วในการเรียนด้วยตนเอง เพื่อที่จะให้ได้เรียนรู้มากที่สุด ตามความสามารถ และมีการชี้แนะหรือการจัดเนื้อหาสำหรับการช่วยเหลือผู้เรียนให้เกิดการเรียนที่ดีขึ้น
2.3 ขั้นคำถามและคำตอบ หลังจากเสนอเนื้อหาของบทเรียนไปแล้ว เพื่อที่จะวัดผู้เรียนว่ามีความรู้ความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนมาแล้วเพียงใดก็จะมีการทบทวนโดยการให้ทำแบบฝึกหัด และช่วยเพิ่มพูนความรู้ ความชำนาญ เช่น ให้ทำแบบฝึกหัดชนิดคำถาม แบบเลือกตอบ แบบถูกผิด แบบจับคู่ และแบบเติมคำ เป็นต้น ซึ่งคอมพิวเตอร์ช่วยสอนสามารถเสนอแบบฝึกหัดแก่ผู้เรียนได้น่าสนใจมากกว่าแบบทดสอบธรรมดา และผู้เรียนตอบคำถามผ่านทางแป้นพิมพ์หรือเมาส์ นอกจากนี้คอมพิวเตอร์ช่วยสอนยังสามารถจับเวลาในการตอบคำถามของผู้เรียนได้ด้วย ถ้าผู้เรียนไม่สามารถตอบคำถามได้ในเวลาที่กำหนดไว้ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะเสนอความช่วยเหลือให้
2.4 ขั้นการตรวจคำตอบ เมื่อระบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอนได้รับคำตอบจากผู้เรียนแล้ว คอมพิวเตอร์ช่วยสอนก็จะตรวจคำตอบและแจ้งผลให้ผู้เรียนได้ทราบ การแจ้งอาจแจ้งเป็นแบบข้อความ กราฟิกหรือเสียง ถ้าผู้เรียนตอบถูกก็จะได้รับการเสริมแรง

วันศุกร์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2554

บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน

บทเรียนโมดูลหรือหน่วยการเรียน
จัดเป็นกลุ่มประสบการณ์ที่จัดขึ้นเพื่อให้ผู้เรียนได้มีโอกาสแสดงพฤติกรรมตามที่ระบุไว้ในจุดมุ่งหมาย
โมดูลอาจจะอยู่ในรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป เช่น สไลด์ ภาพ การทดลอง หนังสือหรือเอกสาร
ซึ่งขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของแต่ละสาขาวิชา
บทเรียนโมดูล
เป็นสื่อการเรียนชนิดหนึ่งที่มุ่งพัฒนาให้ผู้เรียน
ได้เกิดความรู้ตามความต้องการ โดยที่บทเรียนนั้นจะต้องมีการกำหนดวัตถุประสงค์เอาไว้อย่างแน่นอน
มีกิจกรรมต่าง ๆ ให้ผู้เรียนเลือกตามความถนัดและความสามารถของแต่ละคน
มีการประเมินผลก่อนและหลังเรียน มีการทดสอบย่อยในทุก ๆหน่วยของโมดูล
และการเรียนซ่อมเสริมด้วยกระบวนการเรียนการสอนจะเน้นที่ตัวผู้เรียนเป็นสำคัญมากกว่าผู้สอน

คุณสมบัติที่สำคัญของบทเรียนโมดูล
1. โปรแกรมทั้งหมดถูกขยายเป็นส่วน ๆ เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อน
    และสามารถมองเห็นโครงร่างทั้งหมดของโปรแกรม
2. ยึดตัวผู้เรียนเป็นศูนย์กลางในการจัดระบบการเรียนการสอน
3. มีจุดประสงค์ในการเรียนที่ชัดเจน
4. เน้นการเรียนด้วยตนเอง
5. ใช้วิธีการสอนแบบต่าง ๆ ไว้หลายอย่าง
6. เน้นการนำเอาวิธีระบบ (System Approach) เข้ามาใช้ในการสร้าง

องค์ประกอบของบทเรียนโมดูล
1. หลักการและเหตุผล (Prospectus)
2. จุดประสงค์เชิงพฤติกรรม (Behavioral Objectives)
3. การประเมินผลก่อนเรียน (Pre-Assessment)
4. กิจกรรมการเรียน (Enabling Activities)
5. การประเมินผลหลังเรียน (Post-Assessment)

แบบแผนของบทเรียนโมดูล
ชื่อเรื่อง (A Title Page)
ขั้นตอนของกระบวนการเรียน (The Body of the Description)
มีลำดับขั้น ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล
2. จุดประสงค์
3. ความรู้พื้นฐาน
4. การประเมินผลก่อนเรียน
5. กิจกรรมการเรียน
6. การประเมินผลหลังเรียน
7. การเรียนซ่อมเสริม
8. ภาคผนวก (Appendix)


ขั้นตอนในการสร้างบทเรียนโมดูล
1. การวางแผน
2. การสร้าง
3. การทดสอบต้นแบบ
4. ประเมินผลบทเรียน

ประโยชน์ของบทเรียนโมดูล

เป็นบทเรียนสำเร็จรูป
เป็นกระบวนการเรียนการสอนที่มีระเบียบแบบแผนและรวมการสอนหลาย ๆ อย่าง
เอาไว้ด้วยกัน
ช่วยให้ผู้เรียนได้ทราบถึงความสามารถและความก้าวหน้าของตนทุกระยะ
ช่วยลดภาระของครูในการสอนข้อเท็จจริงต่าง ๆ
ดูรายละเอียดได้ที่.. 
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing

ชุดการสอน

ชุดการสอน
เป็นสื่อการสอนที่เป็นชุดของสื่อประสม (Multi-media) ที่จัดขึ้นสำหรับหน่วยการเรียนตามหัวข้อเนื้อหา
และประสบการณ์ของแต่ละหน่วยที่ต้องการจะให้ผู้เรียนได้รับ โดยจัดไว้เป็นชุด ๆ
บรรจุในซอง กล่อง หรือกระเป๋า แล้วแต่ผู้สร้างจะทำขึ้น
ในการสร้างชุดการสอนนี้จะใช้วิธีระบบเป็นหลักสำคัญด้วยจึงทำให้มั่นใจได้ว่า
ชุดการสอนจะสามารถช่วยให้ผู้เรียนได้รับความรู้อย่างมีประสิทธิภาพ และยังช่วยให้ผู้สอน
เกิดความมั่นใจพร้อมที่จะสอนอีกด้วย
แนวคิดและหลักการของชุดการสอน

การประยุกต์ทฤษฎีความแตกต่างระหว่างบุคคลความพยายามที่จะเปลี่ยนแนวการเรียนการสอน
จากการยึดครูเป็นหลักมาเป็นจัดประสบการณ์ให้ผู้เรียนเรียนเอง
เปลี่ยนจากการใช้สื่อเพื่อช่วยครูสอน มาเป็นใช้สื่อการสอนเพื่อช่วยผู้เรียนเรียนยึดทฤษฎีกระบวนการกลุ่ม
มาใช้ในการจัดระบบการผลิตสื่อในรูปของ ชุดการสอน ยึดหลักจิตวิทยาการเรียนมาใช้


หลักในการเขียนแบบฝึกปฏิบัติหรือคู่มือนักเรียน 
1. มีคำชี้แจงในการใช้แบบฝึกปฏิบัติ
2. มีตารางปฏิบัติงานที่ผู้เรียนจะวางแผนไว้เอง
3. ควรมีแผนการสอนโดยสังเขป
4. เตรียมเนื้อหากับกิจกรรมให้ตรงกัน โดยใช้หมายเลขหรือรหัส
5. ออกแบบให้สะดุดตาน่าอ่าน
6. เนื้อหาในแบบฝึกปฏิบัติควรให้ตรงกับเนื้อหา

ประโยชน์ของชุดการสอน
1. ส่งเสริมการเรียนแบบรายบุคล
2. ช่วยขจัดปัญหาการขาดแคลนครู
3. ช่วยในการศึกษานอกระบบโรงเรียน
4. ลดภาระและสร้างความมั่นใจให้กับครู
5. เป็นประโยชน์ในการสอนแบบศูนย์การเรียน
6. ช่วยให้สามารถวัดผลได้ตามความมุ่งหมาย
7. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนได้แสดงความคิดเห็น
8. ช่วยให้ผู้เรียนจำนวนมากได้รับความรู้แนวเดียวกันอย่างมีประสิทธิภาพ
9. ช่วยฝึกให้ผู้เรียนรู้จักเคารพ นับถือ ความคิดเห็นของผู้อื่น
องค์ประกอบของชุดการสอน
1. คู่มือครู บัตรคำสั่งหรือคำแนะนำ
2. เนื้อหาสาระและสื่อ
3. แบบประเมินผล



ส่วนประกอบและการเขียนคู่มือครู
1.  คำนำ
2.  ส่วนประกอบของชุดการสอน
3.  คำชี้แจงสำหรับผู้สอน
4.  สิ่งที่ผู้สอนและผู้เรียนต้องเตรียม
5.  บทบาทของผู้สอนและผู้เรียน
6.  การจัดห้องเรียน
7.  แผนการสอน
8.  เนื้อหาสาระของชุดการสอน
9.  แบบฝึกหัดปฏิบัติหรือกระดาษตอบคำถาม
10.แบบทดสอบก่อนและหลังเรียน
ขั้นตอนในการผลิตชุดการสอน
1.  กำหนดหมวดหมู่เนื้อหาและประสบการณ์
2.  กำหนดหน่วยการสอน
3.  กำหนดหัวเรื่อง
4.  กำหนดความคิดรวบยอดและหลักการ
5.  กำหนดวัตถุประสงค์
6.  กำหนดกิจกรรมการเรียน
7.  กำหนดแบบประเมินผล
8.  เลือกและผลิตสื่อการสอน
9.  หาประสิทธิภาพชุดการสอน
10.การใช้ชุดการสอน
ประเภทของชุดการเรียนการสอน
1. ชุดการสอนประกอบคำบรรยาย
2. ชุดการสอนแบบกลุ่มกิจกรรม
3. ชุดการสอนแบบรายบุคคลหรือชุดการสอนตามเอกัตภาพ

เครื่องสอน (Teaching Machine)

เครื่องสอน (Teaching Machine)
ความหมาย :

เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
 ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง
ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน

ลักษณะของเครื่องสอน
โปรแกรมซึ่งส่วนใหญ่เป็นแบบต่อก้าน อาจอยู่ในแผ่นกระดาษม้วนหรือแผ่นอาซีเตทก็ได้
ตัวเครื่องอาจเป็นซองกระดาษ กล่องไม้ หรือกล่องเหล็ก มีช่องหน้าต่างสำหรับผู้เรียน
กรอกคำตอบหรือมีปุ่มให้เลือกตอบ แล้วแต่ชนิดของเครื่องสอน

ประเภทของเครื่องสอน
1. เครื่องสอนจำพวกที่ผู้เรียนสร้างคำตอบเอง
2. เครื่องสอนจำพวกใช้ฝึก
3. เครื่องสอนจำพวกสร้างคำตอบด้วยกลไก
4. เครื่องสอนจำพวกเลือกคำตอบแบบเชิงเส้น
5.เครื่องสอนสำหรับบทเรียนโปรแกรมแบบสาขา
6. เครื่องสอนที่ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหลัก

ข้อดีของเครื่องสอน- ป้องกันการทุจริตของผู้เรียน
- ใช้สอนผู้อ่านหนังสือไม่ออกได้
- บันทึกข้อที่ผู้เรียนผิดพลาดได้ สะดวกแก่การนำมาปรับปรุงแก้ไข
- ทำให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ
- ทำหน้าที่ในการสอนรายบุคคลได้ดีกว่าครู
- ไม่ดุหรือทำโทษนักเรียน
- ตัวบทเรียนราคาถูกกว่าหนังสือ
- ใช้ร่วมกับสื่ออื่น ๆ ได้
- ใช้ได้หลายครั้ง สิ้นเปลืองน้อยกว่าบทเรียนโปรแกรมในลักษณะของตำราเครื่องสอน
   (Teaching Machine)
- เป็นเครื่องมือที่ใช้กับบทเรียนโปรแกรม โดยอาศัยกลไกตั้งแต่แบบง่าย ๆ
   ราคาถูกไปจนถึงเครื่องกลไกชั้นสูง คอมพิวเตอร์ราคาแพง ในการเสนอบทเรียนให้แก่ผู้เรียน
   สามารถเรียบนได้ด้วยตนเองตามความสามารถของแต่ละคน
ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน 
หมายถึง วิถีทางของการสอนรายบุคคลโดยอาศัยความสามารถของ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่จะจัดหาประสบการณ์ที่มีความสัมพันธ์กันมีการ
แสดงเนื้อหาตามลำดับที่ต่างกันด้วยบทเรียนโปรแกรมที่เตรียมไว้อย่าง
เหมาะสม


ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. บทเรียน (Tutorial) 
เป็นโปรแกรมที่สร้างขึ้นมาในลักษณะของบทเรียนโปรแกรม
ที่เสนอเนื้อหาความรู้เป็นส่วนย่อย ๆเลียนแบบการสอนของครู
2. ฝึกทักษะและปฏิบัติ (Drill and Practice)
ส่วนใหญ่ใช้เสริมการสอน ลักษณะที่นิยมกันมากคือ การจับคู่ ถูก-ผิด
เลือกข้อถูกจากตัวเลือก
3. จำลองแบบ (Simulation)
นิยมใช้กับบทเรียนที่ไม่สามารถทำให้เห็นจริงได้
4. เกมทางการศึกษา (Educational Game)
5. การสาธิต (Demonstration) 
นิยมใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
6. การทดสอบ (Testing) เป็นการวัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียน
7.  การไต่ถาม (Inquiry) 
ใช้เพื่อการค้นหาข้อเท็จจริง ความคิดรวบยอด
8. การแก้ปัญหา (Problem Solving) 
เน้นการให้ฝึกการคิดการตัดสินใจ
9. แบบรวมวิธีต่าง ๆ เข้าด้วย (Combination) ประยุกต์เอาวิธีสอนหลายแบบมารวมกันตามวัตถุประสงค์ที่ต้องการ

e-Learning

ความหมาย    e-Learning  เป็นคำที่ใช้เรียกเทคโนโลยีการศึกษาแบบใหม่ ที่ยังไม่มีชื่อภาษาไทยที่แน่ชัด และมีผู้นิยามความหมายไว้หลายประการ ผศ.ดร.ถนอมพร เลาหจรัสแสง ให้คำนิยาม E-Learning หรือ Electronic Learning ว่า หมายถึงการเรียนผ่านทางสื่ออิเลคทรอนิกส์ซึ่งใช้การ นำเสนอเนื้อหาทางคอมพิวเตอร์ในรูปของสื่อมัลติมีเดียได้แก่ ข้อความอิเลคทรอนิกส์ ภาพนิ่ง ภาพกราฟิก วิดีโอ ภาพเคลื่อนไหว ภาพสามมิติฯลฯเช่นเดียวกับ คุณธิดาทิตย์ จันคนา ที่ให้ความ หมายของ e-learning ่าหมายถึงการศึกษาที่เรียนรู้ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เนตโดยผู้เรียนรู้จะเรียนรู้ ด้วยตัวเอง ารเรียนรู้จะเป็นไปตามปัจจัยภายใต้ทฤษฎีแห่งการเรียนรู้สองประการคือ เรียนตามความรู้ความสามารถของผู้เรียนเอง และ การตอบสนองใน ความแตกต่างระหว่างบุคคล(เวลาที่แต่ละบุคคลใช้ในการเรียนรู้)การเรียนจะกระทำผ่านสื่อบนเครือข่ายอินเตอร์เนต โดยผู้สอนจะนำเสนอข้อมูลความรู้ให้ผู้เรียนได้ทำการศึกษาผ่านบริการ World Wide Web หรือเวปไซด์ โดยอาจให้มีปฏิสัมพันธ์ (สนทนา โต้ตอบ ส่งข่าวสาร) ระหว่างกัน จะที่มีการ เรียนรู้ ู้ในสามรูปแบบคือ ผู้สอนกับ ผู้เรียน ผู้เรียนกับผู้เรียนอีกคนหนึ่ง หรือผู้เรียนหนึ่งคนกับกลุ่มของผู้เรียน ปฏิสัมพันธ์นี้สามารถ กระทำ ผ่านเครื่องมือสองลักษณะคือ
           1) แบบ Real-time ได้แก่การสนทนาในลักษณะของการพิมพ์ข้อความแลกเปลี่ยนข่าวสารกัน หรือ ส่งในลักษณะของเสียง จากบริการของ Chat room
            2) แบบ Non real-time ได้แก่การส่งข้อความถึงกันผ่านทางบริการ อิเลคทรอนิคเมลล์ WebBoard News-group เป็นต้น
          ความหมายของ e-Learning ที่มีปรากฏอยู่ในส่วนคำถามที่ถูกถามบ่อย (Frequently Asked Question : FAQ) ในเวป www.elearningshowcase.com ให้นิยามว่า e-Learning มีความหมาย เดียวกับ Technology-based Learning นั้นคือการศึกษาที่อาศัยเทคโนโลยีมาเป็นส่วนประกอบที่ สำคัญ ความหมายของ e-Learning ครอบคลุมกว้างรวมไปถึงระบบโปรแกรม และขบวนการที่ ดำเนินการ ตลอดจนถึงการศึกษาที่ใช้ ้คอมพิวเตอร์เป็นหลักการศึกษาที่อาศัยWebเป็นเครื่องมือหลักการศึกษาจากห้องเรียนเสมือนจริง และการศึกษาที่ใช้ การทำงานร่วมกันของอุปกรณ์อิเลค ทรอนิค ระบบดิจิตอล ความหมายเหล่านี้มาจากลักษณะของการส่งเนื้อหาของบทเรียนผ่านทาง อุปกรณ ์อิเลคทรอนิค ซึ่งรวมทั้งจากในระบบอินเตอร์เนต ระบบเครือข่ายภายใน (Intranets) การ ถ่ายทอดผ่านสัญญาณทีวี และการใช้ซีดีรอม อย่างไรก็ตาม e-Learning จะมีความหมายในขอบเขต ที่แคบกว่าการศึกษาแบบทางไกล (Long distance learning) ซึ่งจะรวมการเรียนโดยอาศัยการส่ง ข้อความหรือเอกสารระหว่างกันและชั้นเรียนจะเกิดขึ้นในขณะที่มีการเขียนข้อความส่งถึงกัน การนิยามความหมายแก่ e-learning Technology-based learning และ Web-based Learning ยังมี ความแตกต่างกัน ตามแต่องค์กร บุคคลและกลุ่มบุคคลแต่ละแห่งจะให้ความหมาย และคาดกันว่าคำ ว่าe-Learning ที่มีการใช้มาตั้งแต่ปี คศ. 1998 ในที่สุดก็จะเปลี่ยนไปเ ป็น e-Learning เหมือนอย่าง กับที่มีเปลี่ยนแปลงคำเรียกของ e-Business
          เมื่อกล่าวถึงการเรียนแบบ Online Learning หรือ Web-based Learning ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ของ Technology-based Learning nี่มีการเรียนการสอนผ่านระบบอินเตอร์เนต อินทราเนต และ เอ็ซทราเนต (Extranet) พบว่าจะมีระดับ การจัดการที่แตกต่างกันออกไป Online Learning ปกติจะ ประกอบด้วยบทเรียนที่มีข้อความและรูปภาพ แบบฝึกหัดแบบทดสอบ และบันทึกการเรียน อาทิ คะแนนผลการทดสอบ(test score) และบันทึกความก้าวหน้าของการเรียน(bookmarks) แต่ถ้าเป็น Online Learning ที่สูงขึ้นอีกระดับหนึ่ง โปรแกรมของการเรียนจะประกอบด้วยภาพเคลื่อนไหว แบบ จำลอง สื่อที่เป็นเสียง ภาพจากวิดีโอ กลุ่มสนทนาทั้งในระดับเดียวกันหรือในระดับผู้รู้ ผู้มีประสบการณ์ ที่ปรึกษาแบบออนไลน์ (Online Mentoring) จุดเชื่อมโยงไปยังเอกสารอ้างอิงที่มีอยู่ ในบริการของเวป และการสื่อสารกับระบบที่บันทึกผลการเรียน เป็นต้น
          การเรียนรู้แบบออนไลน์หรือ e-learning การศึกษาเรียนรู้ผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์อินเทอร์เน็ต(Internet) หรืออินทราเน็ต(Intranet) เป็นการเรียนรู้ด้วยตัวเอง ผู้เรียนจะได้เรียนตาม ความสามารถและความสนใจของตน โดยเนื้อหาของบทเรียนซึ่งประกอบด้วย ข้อความ รูปภาพเสียง วิดีโอและมัลติมีเดียอื่นๆ จะถูกส่งไปยังผู้เรียนผ่าน Web Browser โดยผู้เรียน ผู้สอน และ เพื่อนร่วมชั้นเรียนทุกคน สามารถติดต่อ ปรึกษา แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันได้เช่นเดียวกับ การเรียนในชั้นเรียนปกติ โดยอาศัยเครื่องมือการติดต่อ สื่อสารที่ทันสมัย(e-mail, web-board, chat) จึงเป็นการเรียนสำหรับทุกคน, เรียนได้ทุกเวลา และทุกสถานที่ (Learn for all : anyone, anywhere and anytime) 
ผู้ให้ข้อมูล : อรรคเดช โสสองชั้น

การสอนแบบโปรแกรม

  การสอนแบบโปรแกรม 
PROGRAMMED INSTRUCTION

ความหมาย :
"การจัดลำดับประสบการณ์ไว้สำหรับผู้เรียน
ไปสู่ขีดความสามารถโดยอาศัยหลักความสัมพันธ์
ของสิ่งเร้ากับการตอบสนองซึ่งพิสูจน์แล้วว่า
มีประสิทธิภาพ "
(รศ.ดร.เปรื่อง กุมุท)

"เป็นการสอนที่มีการวางโปรแกรมไว้ล่วงหน้า
ที่จะให้ผู้เรียนรู้ด้วยตนเองด้วยการลงมือประกอบกิจกรรม
อย่างกระฉับกระเฉง ทราบข้อติชมทันที
มีความภูมิใจในความสำเร็จ และได้ใคร่ครวญตาม
ทีละน้อยตามลำดับขั้นและก้าวไปข้างหน้าด้วยความสามารถ
ความสนใจและความสะดวกของแต่ละคน"

(รศ.ดร.ชัยยงค์ พรหมวงศ์)
หลักการของบทเรียนโปรแกรม

1. เปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมอย่างกระฉับกระเฉง (Active Participation)
    การที่นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมยิ่งมาก ยิ่งส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้มากขึ้น
2. ให้ทราบผลการเรียนของตนเองอย่างทันทีทันใด (Immediated Feed Back)
    เป็นการให้ข้อมูลย้อนกลับแก่ผู้เรียนทันที ว่าสิ่งที่ผู้เรียนทำนั้นถูกหรือผิด
3. ประสบการณ์แห่งความสำเร็จ (Success Experience)
     เมื่อเรียนจบแต่ละขั้นตอนที่สำคัญ ครูควรให้การเสริมแรง (Reinforcement) แก่ผู้เรียน
    เพราะจะเป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนรู้สึกภูมิใจ และต้องการเรียนต่อไป
4. การประมาณทีละน้อย (Gradual Approximation) เป็นการจัดลำดับขั้นตอนของเนื้อหา
    ให้เหมาะสมกับความสามารถของผู้เรียน ไม่ให้ถี่หรือห่างเกินไป

ระเภทของการสอนแบบโปรแกรม
1. การสอนแบบโปรแกรมในฐานะวิธีการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการอย่างเดียวและใช้สื่อ
    เพียง 1-2 อย่าง
2. การสอนแบบโปรแกมในฐานะกระบวนการ เป็นการสอนที่ใช้วิธีการหลายอย่าง
    และใช้สื่อประสม คือใช้สื่อตั้งแต่ 3 อย่างขึ้นไปร่วมกัน สื่อแต่ละอย่างจะส่งเสริม
    ซึ่งกันและกัน


สรุป..
การสอนแบบโปรแกรม เป็นวิธีการสอนที่มีหลักการเพื่อเอื้อให้เกิด
การเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งอาจจะนำไปใช้เป็นหลักการ
ในการสอนวิธีต่างๆ ได้ เช่น การสอนแบบบรรยาย การสอนแบบสาธิต
หรือการสอนแบบกิจกรรมกลุ่ม เป็นต้น

ดูรายละเอียดได้ที่..
บุญเกื้อ ควรหาเวช (2543) นวัตกรรมการศึกษา.(พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ:SR Printing

วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

ระบบ LAN ดีอย่างไร

ระบบเครือข่ายท้องถิ่น (LAN)ระบบเครือข่ายแบบ LAN หรือระบบเครือข่ายเฉพาะบริเวณ โดยปกติแล้วจะเป็นระบบเครือข่ายส่วนตัว (Private Network) นั่นคือองค์กรที่ต้องการใช้งานเครือข่าย ทำการสร้าง เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเป็นระบบเครือข่ายในระยะใกล้ ๆ ซึ่งจะช่วยให้เกิดประโยชน์แก่องค์กรและธุรกิจต่างๆ มากมาย เช่น
       - สามารถแบ่งเบาการประมวลผลไปยังเครื่องต่างๆ เฉลี่ยกันไป
       - สามารถแบ่งกันใช้งานอุปกรณ์ต่างๆ เช่น เครื่องพิมพ์ ซีดีรอมไดร์ฟ เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เป็นต้น
       - สามารถแบ่งกันใช้งานซอฟต์แวร์และข้อมูลหรือสารสนเทศต่างๆ รวมทั้งทำให้สามารถจัดเก็บข้อมูลเหล่านั้นไว้เพียงที่เดียว
       - สามารถวางแผนหรือทำงานร่วมกันเป็นกลุ่มได้ แม้จะไม่ได้อยู่ใกล้กันก็ตาม
       - สามารถใช้ในการติดต่อกัน เช่น ส่งจดหมายทางอิเลคทรอนิคส์ หรือการส่งเสียงหรือภาพทางอิเลคทรอนิคส์ เป็นต้น
       - ช่วยลดค่าใช้จ่ายโดยรวมขององค์กร


ชนิดการเชื่อมต่อของเครือข่าย LAN
การเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์เข้าด้วยกันเป็นเครือข่ายเฉพาะบริเวณ (LAN) นั้น จุดประสงค์หลักอย่างหนึ่งก็คือการแบ่งกันใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ โดยทรัพยากรเหล่านั้นอาจเป็นหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ความเร็วสูง ฮาร์ดดิสก์ เครื่องพิมพ์ หรือแม้แต่อุปกรณ์สื่อสารต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะเชื่อมอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่ง
วิธีการเชื่อมต่อเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เพื่อจัดสรรการใช้งานทรัพยากรในระบบเครือข่ายสามารถจำแนกได้เป็น 3 รูปแบบ

การเรียนรู้ร่วมกันแบบทำโครงงานมัลติมีเดีย

การเรียนรู้ร่วมกันแบบทำโครงงานมัลติมีเดีย
การเรียนรู้ร่วมกันเมื่อมี ICT (Information and Communication Technology) เป็นปัจจัยสำคัญ มีพื้นฐานมาจากทฤษฎีการศึกษา (Theory of Education) ที่เรียกว่า Constructionism ของศาสตราจารย์ซีมัวร์ แพพเพิท (Seymour Papert) Constructionism ของ Papert มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับ Constructivism ของ Piaget โดยที่ Constructivism ของ Piaget ให้ศาสตร์ว่าความรู้คืออะไร และความรู้เกิดขึ้นได้อย่างไร Constructionism ของ Papert เน้นไปที่ศิลปะของการเรียนรู้ หรือเรียนที่จะเรียนรู้ หรือการเรียนรู้โดยการสร้างทำบางสิ่งขึ้นมา Papert ให้ความสำคัญกับเครื่องมือ สื่อ และบริบทของการพัฒนามนุษย์
การเรียนการสอนตามแนว Constructionism มีส่วนประกอบสำคัญ 2 ส่วน คือ
1) มีสื่อวัสดุที่ดีในการใช้สร้างความรู้
2) มีบรรยากาศการเรียนรู้ที่ดี
การเรียนรู้ร่วมกันแบบทำโครงงานมัลติมีเดีย จึงจำเป็นต้องมีซอฟต์แวร์เป็นวัสดุสำหรับสร้างความรู้ โดยให้นักเรียนนำมาสร้างชิ้นงานหรือผลงานเก็บไว้ในรูปแฟ้มงาน ในลักษณะที่นักเรียนเรียนรู้ด้วยการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนนักเรียน มีเวลาในการศึกษา สำรวจ ทดลอง และจัดการ เพื่อสร้างชิ้นงานมัลติมีเดีย ในบรรยากาศการเรียนรู้ที่ประกอบด้วยส่วนสำคัญ 3 ประการ คือ นักเรียนมีทางเลือกหลายทาง นักเรียนมีความหลากหลาย และมีความเป็นกันเองในชั้นเรียน
การให้นักเรียนมีทางเลือกหลายทางเลือก จะทำให้เกิดการสร้างชิ้นงานหรือผลงานที่มีความหมายต่อตัวผู้เรียน เพราะผู้เรียนได้มีโอกาสเลือกทำในสิ่งที่ตนสนใจ ย่อมทำให้เกิดผลงานที่นำมาซึ่งความสำเร็จและเกิดการเรียนรู้จากการสร้างผลงานนั้น
การมีความหลากหลายในกลุ่มผู้เรียน จะช่วยให้นักเรียนสามารถพึ่งพาและเรียนรู้จากกลุ่มผู้เรียนด้วยกันได้ดีขึ้น ดังนั้นนอกจากจะให้นักเรียนสร้างผลงานเป็นรายบุคคลแล้ว ควรจัดให้นักเรียนทำงานกลุ่มที่สมาชิกในกลุ่มมีความหลากหลายในสิ่งที่ตนชอบไม่ชอบ และมีความสามารถแตกต่างกัน โดยร่วมกันสร้างผลงานในรูปแฟ้มงานและนำเสนอผลงานนั้น
การมีความเป็นกันเองในชั้นเรียน เป็นบรรยากาศที่จะช่วยทำให้ผู้เรียนรู้สึกสบายใจไม่เครียด เมื่อสงสัยหรือต้องการความช่วยเหลือจากใครก็สามารถไปถามหรือขอให้เพื่อนมาช่วยเหลือได้ ต่างจากชั้นเรียนในลักษณะที่มีครูเป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีสภาพเหมือนการจำกัดพื้นที่ให้นั่งอยู่เฉพาะที่ บรรยากาศลักษณะที่มีความเป็นกันเองทำให้เกิดการเรียนรู้ได้มากกว่าการรอรับจากครูคนเดียว และสร้างสภาพการอยู่ร่วมกันในสังคมได้ดี
การจัดการเรียนการสอนตามแนว Constructionism เน้นการเรียนรู้จะเกิดผลดี เมื่อให้นักเรียนเป็นผู้สร้างหรือค้นพบความรู้นั้นด้วยตนเอง โดยมีครูเป็นผู้คอยชี้แนะให้คำแนะนำและช่วยเหลือ การหาวิธีการเพื่อให้นักเรียนเป็นผู้สร้างจึงดีกว่าการหาวิธีสอนที่มีครูเป็นศูนย์กลางของการถ่ายทอด การสอนจะเป็นไปในรูปของการสอนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (interactive teaching) ให้กับนักเรียนแต่ละคนที่มีความต้องการใช้ในสิ่งที่ครูสอนนั้น การสอนอย่างมีปฏิสัมพันธ์นี้ นอกจากจะทำให้นักเรียนที่ครูสอนหรือชี้แนะเข้าใจดีแล้ว นักเรียนยังเป็นแหล่งของความรู้ที่จะช่วยเพื่อนที่ต้องการความรู้ในส่วนนั้นต่อไป และช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจในความรู้นั้นเพิ่มมากขึ้น เพราะได้สอนหรืออธิบายให้กับผู้เรียนคนอื่นที่พึ่งจะพร้อมหรือต้องการเรียนในเรื่องเหล่านั้น ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมายกับตัวผู้เรียน เพราะการเรียนรู้สิ่งใดได้ดีนั้นเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนมีความต้องการใช้ความรู้นั้นในการสร้างชิ้นงาน
การเรียนรู้ร่วมกันแบบทำโครงงานมัลติมีเดีย ทำให้ครูใช้เวลาสอนอยู่หน้าชั้นน้อย แต่ให้เวลานักเรียนในการทำโครงงานเป็นส่วนใหญ่ การสอนของครูเป็นไปในลักษณะมีปฏิสัมพันธ์ การเรียนการสอนจึงไม่เน้นการอธิบายวิธีการทั้งหมด แล้วให้นักเรียนสร้างตามแบบ แต่เน้นให้นักเรียนลงมือสร้างชิ้นงานไปพร้อมกับการเรียนรู้วิธีการสร้างหรือทำโครงงานนั้น วิธีการนี้จะทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ทั้งวิธีการและเนื้อหานั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี เพราะนักเรียนจะต้องศึกษาโดยการค้นคว้าหาข้อมูลและสารสนเทศ ศึกษาข้อมูลและสารสนเทศเพื่อวิเคราะห์ สังเคราะห์ และจัดการกับเนื้อหาที่นำมาทำโครงงานนั้น แหล่งของความรู้ไม่อยู่ที่ครูเพียงคนเดียว แต่ทุกคนในชั้นเรียนจะเป็นแหล่งของความรู้ซึ่งกันและกัน เป็นบรรยากาศที่ร่วมกันเรียน ร่วมกันคิดและร่วมกันแก้ปัญหา หรือเรียนรู้ไปด้วยกันทั้งครูกับนักเรียน และนักเรียนกับนักเรียน
การทำโครงงานมัลติมีเดียมีหลายรูปแบบ โครงงานที่สร้างจะอยู่ในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งมีความหมายครอบคลุมถึงสื่อที่เป็นข้อความ เสียง ภาพ วิดีทัศน์ และภาพเคลื่อนไหว และการมี ปฎิสัมพันธ์ที่ประสมประสานกันเป็นหลายสื่อหรือมัลติมีเดีย และเนื่องจากสื่อเหล่านี้เป็นสื่อที่อยู่ในรูปของดิจิทัล ผลิตและสร้างด้วยคอมพิวเตอร์และเครื่องมือที่ใช้ในการสื่อสารซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเป็นที่มาของคำว่าสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (e-Media)
สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำอาจเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่สร้างขึ้น โดยให้ผู้สร้างสวมบทบาทหรือเลียนแบบสิ่งที่เป็นอยู่ในชีวิตจริง เช่น
- เป็นนักเขียนเรื่องแล้วจัดทำเป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ในเว็บ
- เป็นนักข่าวเขียนข่าวประกอบเรื่องที่ไปศึกษาโดยการสัมภาษณ์ และถ่ายภาพ
- เป็นครูสร้างสื่อถ่ายทอดเนื้อหาให้เพื่อนนักเรียนหรือรุ่นน้อง
- เป็นผู้พัฒนาบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- เป็นนักออกแบบเว็บ ที่รวบรวมจัดหาข้อมูลที่เหมาะสมมาสร้างเป็นเว็บเพจ
- เป็นนักวิจัย จัดทำเว็บเพจจากเนื้อหาที่ได้ทำการศึกษาทดลองด้วยตนเอง
- เป็นนักประชาสัมพันธ์ จัดทำเว็บเพจเชิญชวน หรือแจ้งข่าวสาร
- เป็นนักจัดรายการวิทยุ จัดทำเป็นรายการวิทยุอิเล็กทรอนิกส์
- เป็นนักเล่านิทาน จัดทำเป็นเรื่องเล่ามีเสียงประกอบภาพการ์ตูน
- เป็นนักเขียนการ์ตูน จัดทำเป็นหนังสือการ์ตูนอิเล็กทรอนิกส์
- เป็นนักแต่งเรื่องตามจินตภาพ เช่นการผจญภัยในดินแดนมหัศจรรย์
- เป็นนักสร้างภาพยนต์ จัดทำเป็นวีดิโอดิจิทัล
- เป็นนักสะสม จัดรวบรวมแหล่งสารสนเทศ
- เป็นนักจัดเกมโชว์ จัดเกมเรียนรู้ให้ผู้เรียนคนอื่นเล่น
- เป็นนักจัดรายการทีวีบนเว็บ ให้สาระความรู้แก่ผู้ชม
เป็นต้น
ทั้งนี้สื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่จัดทำขึ้นในลักษณะดังกล่าว ย่อมขึ้นอยู่กับจุดประสงค์การเรียนรู้ในแต่ละวิชา ซึ่งสามารถบูรณาการให้อยู่ในโครงงานเดียวกันได้ และในแต่ละโครงงานอาจประกอบด้วยสื่อหลายชิ้น เช่น ประกอบด้วยภาพยนตร์ดิจิทัล เพื่ออธิบาย พร้อมด้วยเว็บเพจสำหรับเพิ่มเติมข้อมูลและสารสนเทศ และ CAI แบบทดสอบ สำหรับวัดความรู้ เป็นต้น
การทำโครงงานดังกล่าวข้างต้น เกี่ยวข้องกับการเลือกและมีซอฟต์แวร์ที่เหมาะสมต่อการนำมาทำโครงงานมัลติมีเดีย ซึ่งอาจเป็นซอฟต์แวร์ประยุกต์ และซอฟต์แวร์ตัวแปลภาษา
http://www.ku.ac.th/e-magazine/may47/it/ecollaborative.html

วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2554

ผีเสื้อน่ารู้

ผีเสื้อจุดเหลี่ยมพม่าวงศ์ผีเสื้อบินเร็ว (Skippers)
  Family Hesperiidae

  ขนาด: เล็ก - กลาง
  ลักษณะนิสัย:
มีหลายวงศ์ย่อยนิสัยแตกต่างกัน

  ผีเสื้อในวงศ์นี้มีส่วนคล้ายคลึงกับผีเสื้อกลางคืนมาก ปีกเป็นรูปสามเหลี่ยม
  เล็กและสั้น บินเร็วมาก มักมองตามไม่ค่อยทัน หัวโต ตากลม
  และมีขนปกคลุมค่อนข้างมาก ขาทั้ง 3 คู่ แข็งแรงสมบูรณ์ ใช้งานได้ดี
  หนวด: รูปก้านไม้ขีด ยาว ปลายหนวดมักโค้งงุ้มลงเล็กน้อย ลำตัว: อวบสั้น

มาแผ่เมตตากันเถอะ

คาถาแผ่เมตตา(แผ่ให้สรรพสัตว์ทั้งหลาย)
สัพเพ สัตตา อะเวรา โหนตุ
อัพพะยาปัชฌา โหนตุ
อะนีฆา โหนตุ
สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งสิ้น
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย
จงมีความสุขกาย สุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเทอญ




ทายนิสัยจากนิ้วก้อย

นิ้วก้อยสำคัญไฉน
วิธีการดู หันฝ่ามือเข้าหาตัวเอง โดยผู้หญิงให้ดูมือซ้าย ส่วนผู้ชายให้ดูมือขวา แล้วขีดเส้นแบ่งข้อต่อแต่ละข้อบนนิ้วก้อย จะได้ทั้งหมด 3 ข้อ ตามรูปประกอบ
ทายนิสัยจากนิ้วก้อยของคุณ



ส่วนที่ยาวที่สุด คือส่วนที่บอกถึงจุดเด่นในตัวคุณ

ข้อบนสุดยาวที่สุด
คุณเป็นคนมีพรสวรรค์ในการพูดจาดึงดูดคน เป็นคนพูดจาฉะฉานชัดเจนทั้งในน้ำเสียงและกิริยาท่าทาง เป็นคนช่างสังเกตและรอบคอบ

ข้อกลางยาวที่สุด
คุณเป็นคนที่ให้ความใส่ใจต่อผู้อื่นและมีความอดทนเป็นเลิศ ลักษณะความยาวของข้อกลางนี้ ส่วนมากพบในบุคคลที่ อยู่ในวงการแพทย์เป็รส่วนใหญ่



ข้อล่างยาวที่สุด
คุณเป็นคนรักอิสระอย่างมากไม่ชอบถูกควบคุมโดยใคร เป็นคนพูดจาเปิดเผย ตรงไปตรงมา ฝีปากกล้าคมคาย ยึดมั่นในความีเหตุมีผลและจะเก่งในเรื่องการโต้เถียง หรือการโต้แย้งใดๆ

ส่วนที่สั้นที่สุด คือ ส่วนที่บอกจุดด้อยในตัวคุณ

ข้อบนสั้นที่สุด
คุณเป็นคนไม่กล้าแสดงออกอย่างมาก เป็นคนขี้อายจนถึงขนาดตัวคุณเองที่ยากจะเข้าใจในตัวเอง นอกจากนี้คุณยังเป็นคนที่ไม่มีมนุษยสัมพันธ์กับคนอื่นอีกด้วย

ข้อกลางสั้นที่สุด
คุณเป็นคนซื่อสัตย์ ยุติธรรมแน่วแน่มั่นคง อาจจะเรียกได้ว่าถึงขั้นไม่มีความประนีประนอม จนดูเหมือนความที่เป้นคนตรง กลายเป็นข้อด้อยของคุณไปเลย

ข้อล่างสั้นที่สุด
คุณเป็นคนซื่อๆง่ายๆ ไม่มีเล่ห์เหลื่ยมมารยา เชื่อคนง่ายจนกระทั่งอาจจะถูกหลอกหรือถูกโกงได้ง่าย ด้วยความไร้เดียงสาของคุณ
ขอบคุณเนื้อหาจาก FW Mail
ขอบคุณภาพประกอบจาก Photos.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2554

ไปเที่ยวกันมั้ย !!!

เกาะสิเป๊ะหรือเกาะหลีเป๊ะ
         เกาะนี้อยู่ทางใต้ของเกาะอาดัง 2 กิโลเมตร บนเกาะหลีเป๊ะมีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่หลายครัวเรือน ส่วนใหญ่มีอาชีพทำการประมง ประมาฯกลางเดือน 6 และเดือน ตลอด 3 วัน 3 คืน ชาวบ้านบนเกาะหลีเป๊ะทีมีเชื้อสายชาวเลจะรวมกันที่เกาะหลีเป๊ะเพื่อจัดงานรื่นเริง และที่สำคัญที่สุดคือ ชาวบ้านจะช่วยกันต่อเรือด้วยไม้ระกำ และประกอบพิธีลอยเรือด้วยเป็นความเชื่อว่าเป็นการเสี่ยงทายโชคชะตาในการประกอบอาชีพประมง
          ในภาษาชาวทะเล "หลีเป๊ะ" แปลได้ว่า แผ่นกระดาษ เพราะเกาะนี้มีลักษณะแบนราบคล้าย แผ่นกระดาษที่ลอยน้ำและเป็นเพียงเกาะเดียวที่มีหมู่บ้านอย่างถาวรซึ่งทั้งหมดเป็นชาวเล ซึ่งในบรรดาเกาะทั้งหมดในทะเลสตูล เกาะหลีเป๊ะนับเป็นเกาะหนึ่งที่มีชุมชนชาวเลอาศัยอยู่มานาน และเกาะหลีเป๊ะ เองก็มีความสวยงามของธรรมชาติไม่เหมือนใคร
จุดเด่นของเกาะหลีเป๊ะ คือ ธรรมชาติของปะการังรอบเกาะ เวิ้งอ่าวสวยงามหาดทรายละเอียดนิ่มเหมือนแป้ง และอ่าวที่สวยงามคืออ่าวพัทยา ซึ่งมีลักษณะโค้งเว้า ทรายขาวละเอียด และหาดชาวเล ซึ้งทั้งสองหาดนี้สามารถเดินได้ถึงกันโดยใช้เวลาเดินโดยประมาณ 15 นาที (ปัจจุบันมีถนนคอนกรีตเชื่อมถึงกัน)บนหาดมีที่พักมากมายรอคอยบริการนักท่องเที่ยว

สวัสดีปีใหม่ 2554

### HaPPy NeW YeaR  2011 ###
    ปีใหม่ปีนี้ขอให้สุขภาพแข็งแรง
ดวงดี  ดวงเฮง  เงินทองไหลมาเทมา
  การงานรุ่งเรือง  ประสบความสำเร็จ
           คิดสิ่งใดสมปรารถนา
              ใช้ชีวิตอย่างมีสติ
         และขอให้พบรักที่อบอุ่น